ทัชมาฮาล (Taj Mahal)
ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดียผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พ.ศ.3125 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตร สาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล “อัญมณีแห่งราชวัง” พระมเหสีติดตามพระองค์ แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
ในปี พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรส โอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหานขัง และขึ้นครองราชบัลลังก์แทน พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมอง เศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและ เครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
ทัชมาฮาลได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ
1.เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
จักรพรรดิชาห์ ชหาน
พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ทรงอภิเษกมุมตัซ มาฮาล ธิดาของรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) ในปี พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) จักรพรรดิชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรส โอรังเซบ จับพระองค์ และขึ้นครองราชบัลลังก์เเทน พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมอง เศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระองค์ถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์รักไม่เคยลืม
ตำนานรัก ทัชมาฮาล
ผู้ที่สร้างตำนานความรักอันยิ่งใหญ่คือ กษัตริย์ชาห์ญะฮาน กษัตริย์องค์ที่
5 ในราชวงศ์โมเลกุล ที่ทรงโปรดให้สร้าง ตาซมะฮัล หรือ
ทัชมาฮัลขึ้นเป็นอนุสรณ์แทนความรักที่พระองค์มีต่อมเหสีคือ พระนางมุมตาซ
มะฮัล จนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักที่งดงามที่สุดในโลก
กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน ทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ญะฮางงีร์
ทรงประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1592
เป็นที่ร่ำลือตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าชายที่ทรงเคร่ง
ขรึม ในพระทัยเต็มไปด้วยความทุกข์ระทม
ความเป็นคนอมทุกข์ของพระราชโอรสสร้างความหนักพระทัยให้กับพระราชบิดาเป็น
อย่างมาก กษัตริย์ญะฮางีร์
ทรงแนะนำให้พระราชโอรสดื่มน้ำจัณฑ์และหาความสำราญพระทัย ด้านต่างๆ
มาสู่พระราชโอรส แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ชาห์ ญะฮาน
ยังทรงเคร่งขรึมไม่เบิกบานพระทัยเช่นเดิมจนกระทั่งวันหนึ่ง
เจ้าชายได้เสด็จประพาสตลาดและได้พบกับสาวน้อยวัย 14 ปี นามว่า อรชุนด์ บาโน
เบคุม เป็นบุตรสาวของ อะซีฟ ข่าน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1592
และมีเชื้อสายเปอร์เซีย
เพียงได้เห็นดวงหน้าของนางครั้งแรกเจ้าชายก็เกิดรักแรกพบขึ้นที่ตลาดนั่นเอง
3 ปีให้หลัง พิธิอภิเษกสมรสของเจ้าชายก็ถูกจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1612
หลังจากพิธีอภิเษก อรชุนด์ บาโน เบคุม ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า มุมตาซ
มะฮัล ซึ่งแปลว่า อัญมณีแห่งปราสาท
หลังจากนั้นเป็นต้นมาเจ้าชายก็ทรงเปลี่ยนไป เพราะเบิกบานพระทัยยิ่งนัก
อีกทั้งสองพระองค์ก็เป็นคู่รักที่ไม่เคยแยกจากกันเลย ในปี ค.ศ. 1628
เจ้าชายเสด็จขึ้นครองราชบังลังก์ ทรงพระนามว่า กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน
โดยมีพระนางมุมตาซ มะฮัล เป็นพระมเหสีคู่พระทัย
พระนางทรงเป็นทั้งคู่คิดและที่ปรึกษา และ
มีส่วนในการช่วยเหลือพระสวามีในการปกครองบ้านเมือง
อีกทั้งยังทรงเป็นที่รักใคร่ของพสกนิกรทั่วหล้าพระนางมุมตาซ มะฮัล
ทรงให้กำเนิดพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 14 พระองค์
หลังจากทรงให้กำเนิดพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในช่วงปี ค.ศ. 1631
พระนางได้เสด็จร่วมกรีธาทัพกับพระสวามี ณ เมืองเดคข่าน
แต่ระหว่างเสด็จกลับพระนครพระนางก็ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ในที่สุดขบวน
เคลื่อนพระศพสู่พระนครนั้น ถูกจัดอย่างเอิกเกริกมโหฬาร
ตลอดเส้นทางที่เคลื่อนขบวนมีการโปรยทานแก่คนยากจน
เมื่อขบวนเคลื่อนเข้าใกล้กรุงอาครา
ผู้ที่อาลัยรักพระนางต่างมาสมทบมากขึ้นจนเป็นขบวนแห่พระศพที่ยิ่งใหญ่มาก
กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน โปรดให้นำอาหารมาเลี้ยงแก่ประชาชนทั้งหลายอย่างเต็มที่
เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศแก่พระมเหสีอันเป็นที่รักยิ่ง
การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของพระมเหสีสุดที่รักสร้างความโทมนัสตรอมพระทัย
ให้กับกษัตริย์ชาห์ญะฮานเป็นอย่างมาก พระองค์ไม่ทรงเสวยและไม่ทรงพระบรรทม
ทรงแต่ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องนุ่มห่มสีขาวเป็นการไว้ทุกข์
และทรงเสด็จเยี่ยมหลุมฝังศพของพระนางทุกวันศุกร์ด้วยความอาลัยรักอย่างยิ่ง
จึงโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์แห่งความรักขึ้นมาอย่างวิจิตรอลังการ
และให้ชื่อเรียกว่า ตาซ มะฮัล สร้างอยู่บนพื้นที่ 42 เอเคอร์
ริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในการก่อสร้างนั้น กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน โปรดให้ระดมช่าง
ศิลปิน และสถาปนิกที่ได้ชื่อว่าฝีมือดีเยี่ยมที่สุดจากหลายๆ ที่ ประมาณ
20,000 คน ใช้เวลาการในก่อสร้าง 22 ปี สิ้นค้าใช้จ่ายในการก่อสร้างไปประมาณ
45 ล้านรูปี
พระอนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างด้วยศิลาขาวทั้งหมดมีโดมทรงกลมเด่นอยู่ตรงกลาง
สูงถึง 72 เมตร บริเวณโดยรอบมีผนังศิลาแลงล้อมรอบ
ประตูทางเข้าวางอยู่บนฐานศิลาแลง
บริเวณทางเข้ามีสระน้ำหินอ่อนสีขาวรอบทางเดินเป็นสวนดอกไม้นานาพันธุ์
ตำแหน่งที่เป็นที่วางพระศพของพระนางมุมตาซ ทำเป็นแท่นรูปบัวตูม
ส่วนหีบพระศพเป็นหินอ่อนสีขาวแกะสลักอย่างงดงาม
หลังจากที่เป็นที่สร้างทัชมาฮาลเสร็จแล้ว กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน
ได้เสด็จมายังสถานที่แห่งนี้เสมอๆ จนกระทั่งในค.ศ. 1658 ก็ทรงล้มป่วย
พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ ออรังเซป ก็ตั้งตนขึ้นครองราชบัลลังก์แทน
และจับกษัตริย์ชาห์ ญะฮาน พระราชบิดา กักขังไว้จนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่
22 มกราคม ค.ศ. 1666ก่อนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
ระหว่างที่ถูกกักขังอยู่กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน
เฝ้าแต่นั่งจ้องมองดูกระจกชิ้นเล็กๆ ที่ส่องสะท้อนออกไปเห็นทัชมาฮัล
พระองค์สวรรคตพร้อมด้วยกระจกที่กำแน่นอยู่ในพระหัตถ์ และ
พระบรมศพของพระองค์ก็ได้ถูกนำไปฝังในทัชมาฮัล
เคียงข้างกับพระมเหสีสุดที่รัก
ตามพระประสงค์ที่ทรงต้องการจะอยู่เคียงคู่กันตราบชั่วนิจนิรันดร์
ตำนานอันเลื่องลือของความรักที่ปรากฏไปทั่วโลกเรื่องนี้ยังมีเรื่องเล่าใน
อีกแง่มุมหนึ่งเกิดขึ้นมาที่ว่ากันว่ากษัตริย์ชาห์ ญะฮาน
สร้างทัชมาฮัลขึ้นมาด้วยความเห็นแก่ตัว โดยไม่คิดถึงหลักมนุษยธรรม
และทัชมาฮัลก็กลายเป็นที่เกลียดชังของทุกคนเพราะในการสร้างทัชมาฮัล
กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน
ระดมช่างฝีมือดีมาเป็นจำนวนมากและมีกฎว่าต้องสร้างให้เสร็จตามกำหนดเวลา
ถ้าสร้างไม่เสร็จก็จะถูกลงโทษ และยังมีเรื่องเล่าอีกว่า
เมื่อสร้างทัชมาฮัลเสร็จแล้ว ช่างทุกคนก็ถูกฆ่าตาย
จนหมดเพื่อป้องกันไม่ให้ไปสร้างสถานที่ที่งดงามเช่นนี้เลียนแบบไว้ที่ไหนอีก
บ้างก็ว่า กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน
อาจะไม่ได้ตั้งใจที่จะสร้างทัชมาฮัลให้ยิ่งใหญ่เพื่อความรัก
แต่มีแผนการที่จะสร้างปราสาทที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก เพื่อสนองความต้องการ –
ของตัวเอง และในการสร้างทัชมาฮัลนี้
ทำให้ประเทศอินเดียต้องสูญเสียเงินที่จะมาสร้างความเจริญให้กับประเทศ ไปถึง
250 ปี อย่างไรก็ตาม โลกก็ได้ให้รางวัลสำหรับ – ความยิ่งใหญ่ครั้งนี้
ด้วยการจัดให้ทัชมาฮัล เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
ตราบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่ น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและ เครื่องประดับจากมิตรประเทศ ทาง เข้าด้านหน้าของอาคารตรงกลางเป็นหลังคาโค้งขนาดใหญ่ขนาบด้วยหลังคาโค้งขนาด เล็กทั้งสองด้านและเป็นสองชั้น ตรงมุมระเบียงทั้งสองด้านก็เสริมด้วยโค้งขนาดเล็กลงไปอีกและเป็นสองชั้นเช่น เดียวกัน การออกแบบเน้นความสมมาตรทั่วทุกด้านของอาคาร ตัวอาคารล้อมรอบด้วยหออะซานทั้ง 4 ด้าน แต่ละหอมีความสูง 162.5 ฟุต ภายในอาคารหินอ่อน ห้องโถงกลางที่ใหญ่ที่สุดใต้โดมยักษ์เป็นแท่นวางพระศพที่ทำด้วยหินอ่อนของ มุมตัสและชาห์จาฮานที่วางไว้เคียงกัน แต่พระศพจริงๆ หาได้บรรจุอยู่ในหีบศพนั้นไม่ หากฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบศพได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วย สัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด ทัชมาฮาล กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมี เนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องเเจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของ โลกในยุคใหม่ ในทัชมาฮาลส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและ เครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม ด้านข้างมีโดมขนาดเล็กสี่ด้าน อาคารตั้งอยู่บนลานหินอ่อนสีขาวโล่งกว้าง รอบลานหินมีราวหินอ่อนโปร่งตา ส่วนที่มุมทั้งสี่ของลานหิน มีหอคอยประจำทิศ เรียกว่า “มินาเร่ต์” เป็นที่ป่าวร้องให้ประชาชนสวดมนต์ตามเวลา
ในการสร้างทัชมาฮาลครั้งนั้น ต้องใช้แรงงานและเงินเป็นจำนวนมาก จึงมีการเกณฑ์ช่างฝีมือแรงงานและมีการขูดรีดเก็บภาษีจากราษฎรเพื่อเอาเงินมาใช้ในการก่อสร้างอย่างมากมาย ช่างฝีมือจำนวนมากที่แกะสลักหินต้องตาบอดเนื่องจากต้องทำงานกลางแดดจัดเป็นเวลานาน คนงานจำนวนมากต้องล้มตายลงเพราะทำงานหนักและถูกบังคับทารุณให้ทำงานไม่มีหยุด ครั้นสร้างทัชมาฮาลสำเร็จลง พระเจ้าชาห์ชาฮันก็สั่งให้ฆ่าสถาปนิกผู้ออกแบบทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ไปสร้างสิ่งก่อสร้างสวยงามอื่นมาเป็นคู่แข่งกับทัชมาฮาลอีกต่อไป
ทัชมาฮาลมีประตูทางเข้าขนาดใหญ่ ทำด้วยหินทรายสีแดง ขอบประตูทางเข้าทั้งด้านนอกและด้านในมีตัวอักษรจากภาษาโกรานจารึกไว้ ตัวหนังสือเหล่านี้เป็นบทสวดมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ผู้จารึกได้คำนวณขนาดของตัวอักษรที่ขอบประตูให้มีความสูงต่างกันเพื่อทำให้ ผู้อ่านไม่ว่าจะยืนอยู่มุมใดก็สามารถมองเห็นตัวอักษรเหล่านี้ มีขนาดเท่ากันและเห็นได้ชัดเจน
ส่วนด้านหลังทัชมาฮาลติดกับแม่น้ำยุมนา ด้านหน้ามีสนามหญ้าและลานอุทยานที่มีบริเวณกว้างขวางจึงทำให้ทัชมาฮาลดูโดด เด่น ด้านหน้ามีถนนตรงไปสู่ตัวอาคารประมาณ 4 ทาง เมื่อมองในระยะไกลเหมือนกับถนนนี้เป็นแนวรัศมีของทัชมาฮาล ถนนเทพื้นด้วยคอนกรีตและคั่นด้วยสนามหญ้า มีพุ่มไม้จำพวกไม้สนปลูกเรียงรายกันเป็นแถวตลอดแนว ระหว่างตรงกลางมีสระน้ำซึ่งมีหัวทำท่องเป็นน้ำพุเรียงรายตลอดแนว ส่วนตอนหน้าเป็นน้ำพุขนาดใหญ่อยู่ในสระที่ถนนทุกสายมาเชื่อมถึงกัน
เมื่อเข้าไปในตัวอาคารของทัชมาฮาล จะเห็นการแกะสลักลวดลายประดับเป็นลายดอกไม้นานาชนิด ผนังห้องและพื้นห้องมีการตกแต่งโดยใช้หินสีชนิดต่างๆ ตัดและเจียระไนเป็นชิ้นเล็กๆ ทำเป็นรูปกลีบดอกไม้ ก้านดอก ใบไม้ แล้วฝังลงในเนื้อหินอ่อนทีละชิ้นๆ ไล่โทนสีของหินจากสีอ่อนไปยังสีแก่ ลวดลายประดับนั้นดูอ่อนช้อยราวกับภาพที่จิตรกรวาดเป็นลายเส้นด้วยมือทีเดียว หินเหล่านี้เมื่อถูกแสงไฟกระทบจะเกิดการสะท้อนแสงและสีออกมาสวยงาม
ภายในอาคารทัชมาฮาล ตรงกลางมีหีบพระศพจำลองของพระนางมุมตาสกับหีบพระศพของพระเจ้าชาห์ชาฮันวางคู่กัน (หีบพระศพจริงอยู่ในห้องลึกลงไปด้านล่างประมาณ 10 เมตร) รอบๆ มีฉากกั้นทั้งสี่ด้าน ตัวฉากกั้นเป็นหินอ่อนฉลุลวดลายเครือไม้และไม้ดอกที่งามวิจิตรโปร่งตา ภายในห้องโถงใหญ่มีแสงสว่างส่องจากภายนอกเข้าไปได้ตามช่องแสงที่ติดกระจกสีไว้ เวลาพูดคุยกันจะมีเสียงสะท้อนดังก้องมาก
วัสดุก่อสร้างทั้งหลายมาจากที่ต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. หินอ่อน ได้จากเมืองชัยปุระ
2. ศิลาแลง จากฟาเตปุรริขรี
3. พลอยสีฟ้า จากธิเบต
4. พลอยสีเขียว จากอียิปต์
5. หินสีฟ้า จากคัมภัย
6. โมรา จากคัมภัย
7. เพชร จากเมืองฟันนา
8. หินทองแดง จากรัสเซีย
9. หินทราย จากแบกแดด
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับจากมิตรประเทศอีกหลายแห่ง สถานที่ก่อสร้างแรกที่เดียวสร้างเป็นนิคมให้คนงานอยู่ ชื่อว่า มุมทัชชาบัด ปัจจุบันยังมีซากเหลืออยู่บ้าง เรียกว่า ตาจกันซ์ทุกคน ทุกฝ่ายทุ่มเทสุดความสามารถ ทุ่มเทชีวิตสร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อมุมทัชมาฮาล ผู้เคยให้ความเมตตากรุณาต่อพวกเขาอย่างยิ่ง ในขณะที่เธอยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งประณีตวิจิตรบรรจงเท่าใด ก็เป็นการถวายความจงรักภักดีมากเท่านั้น
อนุสาวรีย์มุมทัชมาฮาล สำเร็จเสร็จสิ้นลงอย่างงดงาม หลังใช้เวลาในการก่อสร้างตกแต่งทั้งสิ้นถึง 22 ปี หีบศพของมุมทัชมาฮาลถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานอยู่ในห้องใต้ดินบริเวณโดม และบิเวณโดมมโนสิงห์ซึงปรากฏหีบศพของมุมทัชมาฮาล และของกษัตริย์ชาห์ชะฮาน ประดิษฐานอยู่นั้นเป็นหีบศพจำลอง
กษัตริย์ชาห์ชะฮาน เฝ้าระทมเพราะการจากไปของมุมทัชมาฮาล มเหสีสุดที่รักอยู่เป็นเวลา 36 ปี ก็พอดีเกิดศึกกลางเมือง มีการแย่งยิงราชบัลลังก์ขึ้นระหว่างพระโอรสของกษัตริย์ชาห์ชะฮานเอง กษัตริย์ชาห์ชะฮานถูกจับไปขังไว้ที่ป้อมใหม่เมืองอัคระ เอารังเซบโอรสของกษัตริย์ชาห์ชะฮานขึ้นครองบัลลังก์แทน
กษัตริย์ชาห์ชะฮานได้สวรรคตที่ป้อมแห่งนี้ ก่อนสิ้ใจได้ขอให้ชาราพาประคองศีรษะของพระองค์ขึ้น ให้มองเห็นภาพทัชมาฮาล เพื่อระลึกถึงยอดรักของพระองค์ในนาทีสุดท้าย
เอาวังเซบ ราชโอรสจึงได้นำพระศพของพระบิดามาประดิษฐานไว้เคียงข้างพระศพของมุมทัชมาฮาล ณ อณุสาวรีย์ที่สวยที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด มหัสจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และสถิตอยู่ให้โลกพิศวงกระทั่งปัจจุบันนี้ จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org
http://variety.teenee.com/world/46109.html
http://amza2012.wordpress.com
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/taj_mahal/index.html
http://www.youtube.com/watch?v=ggTBvGgwO0U